เกร็ดเกี่ยวกับเคเบิ้ลไทร์ (Cable Tie)
เคเบิ้ลไทร์ (Cable Tie) หรือที่รู้จักกันในชื่อ hose tie, zip tie หรือ tie-wrap เป็นสลักภัณฑ์ (Fastener) ประเภทหนึ่งซึ่งออกแบบเพื่อรัดสายสัญญาณหรือสายไฟเข้าด้วยกันเพื่อความเป็นระเบียบ และยังถูกนำไปใช้ในงานหลากหลายประเภท
เคเบิ้ลไทร์แบบต่าง ๆ
โดยทั่วไปแล้ว เคเบิ้ลไทร์แบบไนลอนจะมีส่วนหนึ่งที่มีฟันสามเหลี่ยมลาดไปในทิศทางเดียวกัน โดยส่วนหัวของเคเบิ้ลไทร์จะมีช่องพร้อมกับเขี้ยวที่บังคับให้ฟันสามเหลี่ยมนั้นไม่สามารถถอยกลับได้เมื่อส่วนปลายของเคเบิ้ลไทร์สอดเข้ามา เขี้ยวของเคเบิ้ลไทร์ทำหน้าที่เหมือนกระเดื่องในเฟืองที่บังคับไม่ให้ถอดสายเคเบิ้ลไทร์ออกมา
ส่วนเขี้ยวของเคเบิ้ลไทร์ที่ล็อคกับร่องสาย
เคเบิ้ลไทร์ชนิดพิเศษ
- เคเบิ้ลไทร์สำหรับใช้งานกลางแจ้ง (weather resistant cable tie) หรือที่นิยมเรียกกันว่า เคเบิ้ลไทร์ยูวี สามารถเพิ่มความทนทานต่อรังสีอัลตราไวโอเลต UV ได้โดยใช้ไนลอนเกรดพิเศษที่เติมผงคาร์บอนดำ (carbon black) อย่างน้อย 2% เพื่อป้องกันการทำปฎิกิริยาระหว่างรังสี UV กับสายโพลีเมอร์ (Polymer Chain) ยืดอายุการใช้งาน
- เคเบิ้ลไทร์ตรวจจับโลหะ (metal detectable cable tie) เคเบิ้ลไทร์สีน้ำเงินนั้นใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเวชภัณฑ์ ผลิตโดยเติมสารเติมแต่งประเภทโลหะลงไป ทำให้เคเบิ้ลไทร์สามารถถูกตรวจจับได้โดยเครื่องตรวจจับโลหะ นิยมใช้รัดสายไฟ สายสัญญาณในไลน์ผลิตอาหารและยา เพื่อป้องกันหากเคเบิ้ลไทร์หลุด ขาด ตกลงไปปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์
- เคเบิ้ลไทร์ที่ผลิตจาก ETFE (Ethylene tetrafluoroethylene) หรือ Tefzel ใช้ในงานที่มีอุณหภูมิสูงถึง 150°C เช่น ในมอเตอร์ไฟฟ้า โรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นเคเบิ้ลไทร์เกรดพิเศษ มีราคาสูง
- เคเบิ้ลไทร์สเตนเลส (stainless steel cable tie) ผลิตจากเหล็กกล้าทนสนิมหรือสแตนเลส มีทั้งเกรด 304 และ 316 ใช้ในงานที่ทนต่อเปลวเพลิง และยังมีแบบเคลือบที่ป้องกันการกัดกร่อนจากโลหะอื่น เช่น รางสายที่ชุบสังกะสี ในปัจจุบันนิยมใช้ในงานติดตั้งโซล่าฟาร์ม งานท่อร้อยสายไฟใต้ดิน เนื่องจากมีอายุการใช้งานนาน ทนทานต่อการกัดกร่อน ไม่เป็นสนิม ทนแดดได้เป็นอย่างดี
- เคเบิ้ลไทร์ทนความร้อน (heat resistant cable tie) โดยทั่วไปเคบิ้ลไทร์จะทนความร้อนได้ถึง 85°C แต่ตัวเคเบิ้ลไทร์ทนความร้อนจะทนความร้อนได้สูงขึ้นมาถึง 120°C ซึ่งจะนิยมใช้รัดสายขดลวดทองแดงในมอเตอร์ไฟฟ้า หรืองานชิ้นส่วนรถยนต์
- เคเบิ้ลไทร์แบบมีแป้น (marker tie) จะเป็นเคเบิ้ลไทร์ที่มีแป้นพลาสติก เพื่อใช้สำหรับเขียนหรือติดสติกเกอร์เพื่อระบุตำแหน่งของสาย
- เคเบิ้ลไทร์รันเลข หรือซีลล็อคตู้คอนเทนเนอร์ (security seals) จะเป็นสายรัดพลาสติกที่มีแป้น พร้อมพิมพ์เลขลำดับ (serial number), บาร์โค้ด, คิวอาร์โค้ด พร้อมสัญลักษณ์ ชื่อบริษัท ตัวเคเบิ้ลไทร์รันเลขนี้ จะแตกต่างจะเคเบิ้ลไทร์ทั่วไปตรงที่ผลิตมาเพื่อเมื่อรัดใช้รัดแล้ว จะไม่สามารถแกะออกและใส่คืนได้ โดยไม่ทิ้งร่องรอยเอาไว้ จึงนำมาใช้รัดสินค้าเพื่อป้องกันการสูญหายระหว่างการจัดเก็บและขนส่งได้
ประวัติความเป็นมา
เคเบิ้ลไทร์ประดิษฐ์คิดค้นโดย Thomas & Betts บริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า ในปี ค.ศ.1958 โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Ty-Rap โดยเริ่มแรกนั้นออกแบบสำหรับใช้งาน wire harness บนเครื่องบิน โดยมีกลไกการล็อคสายฟันโลหะ (metal pawl) ซึ่งก็ยังคงมีเคเบิ้ลไทร์ลักษณะนี้ในปัจจุบัน ต่อมา Thomas & Betts และผู้ผลิตรายอื่น เช่น Panduit และ Hellemann ได้เปลี่ยนมาใช้ฟันแบบไนลอนแทน
ผู้ค้นคิด Ty-Rap ให้กับ Thomas & Betts คือ Maurs C.Logan ผู้ซึ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์มากมายให้กับบริษัท โดยความคิดทีเริ่มผลิตเคเบิ้ลไทร์นั้นเกิดขึ้นระหว่างที่86I Logan เยี่ยมชมโรงงานผลิตเครื่องบิน Boeing ในปี ค.ศ.1956
ในอดีตการเดินสายไฟในเครื่องบินเป็นงานที่ยุ่งยาก มีรายละเอียดมากมาย ใช้สายความยาวหลายพันเมตรบนแผ่นไม้อัดซึ่งยึดด้วยสลัก, เคลือบไข, และสายไนลอน ซึ่งคนงานที่ดึงสลักโดยรัดสายเข้ากับนิ้วมือนั้นจะโดนสายไนลอนบาดเป็นประจำ คุณ Logan จึงได้เริ่มค้นคิดอุปกรณ์ที่มาช่วยงานนี้ จนในที่สุดก็สำเร็จและได้จดสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ.1958
เคเบิ้ลไทร์นั้นโดยทั่วไปจะใช้งานเพื่อรัดเพียงครั้งเดียว จากนั้นจะถูกตัดทิ้งมากกว่าจะที่ปลดล็อคและนำกลับมาใช้ใหม่ อย่างไรก็ตาม หากต้องการปลดล็อคเคเบิ้ลไทร์ก็มีวิธีที่ไม่ต้องตัดเคเบิ้ลไทร์ โดยปลดเขี้ยวกระเดื่องจากสายด้วยเหล็กแหลม เข็มเย็บผ้า หรือไขควงเบอร์เล็ก ๆ แหย่เข้าไปกดตัวเขี้ยวแล้วดึงสายเคเบิ้ลไทร์ออกมา เคเบิ้ลไทร์แบบปลดล็อคได้นั้นจะมีส่วนให้กดเพื่อปลดเขี้ยวล็อคเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ
อ้างอิง: Wikipedia http://en.wikipedia.org/wiki/Cable_tie