Tel.: 02-8097426-7 | Email : info@thaicoatedwire.com

   

ลวดสลิง Tag

  /  Posts tagged "ลวดสลิง"

การทำห่วงลวดสลิงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการสร้างจุดยึดที่แข็งแรงและปลอดภัยสำหรับการใช้งานต่างๆ เช่น การยกของหนัก การลากจูง หรือการใช้ในงานก่อสร้าง โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็นได้แก่ - ลวดสลิง (Wire Rope) เลือกขนาดและความยาวตามความน้ำหนักที่ใช้งาน - ปลอกอลูมิเนียม (Ferrule) ใช้ในการยึดลวดสลิงให้เป็นห่วง - คีมย้ำหรือเครื่องย้ำไฮดรอลิก (Swaging Tool) ใช้ในการย้ำปลอกห่วงให้แน่น - ห่วงหัวใจ (Thimble) - ช่วยป้องกันลวดสลิงจากการขูดขีดและช่วยรักษารูปร่างของห่วง - คีมตัดลวดสลิง (Wire Rope Cutter) ใช้ในการตัดลวดสลิงให้ได้ความยาวตามต้องการ ขั้นตอนการทำห่วงลวดสลิง 1. ตัดลวดสลิงให้ได้ความยาวที่ต้องการ: ใช้คีมตัดลวดสลิงตัดลวดให้ได้ความยาวตามที่ต้องการ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลวดที่ตัดมีปลายเรียบและไม่มีลวดหลุดลุ่ย 2. ใส่ปลอกอลูมิเนียม (Ferrule): สวมปลอกห่วงลงไปที่ปลายลวดสลิง

ลวดสลิงสเตนเลสมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ ความต้านทานต่อการกัดกร่อน: ลวดสลิงสเตนเลสมีความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง เช่น ริมน้ำ ทะเล ห้องเย็นหรือโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ลวดสลิงสเตนเลสมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเหล็กชนิดอื่นๆ   ความทนทานต่ออุณหภูมิ: ลวดสลิงสเตนเลสสามารถทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงหรือต่ำได้ดี ซึ่งทำให้สามารถใช้งานได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม   การบำรุงรักษาง่าย: เนื่องจากมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนและการเกิดสนิม การบำรุงรักษาลวดสลิงสเตนเลสจึงทำได้ง่ายและไม่ต้องการการดูแลรักษาบ่อยๆ   รูปลักษณ์ที่สวยงาม: ลวดสลิงสเตนเลสมักมีผิวที่เรียบเนียนและเงางาม ทำให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการความสวยงาม เช่น งานตกแต่งภายในหรืองานออกแบบสถาปัตยกรรม   ไม่เป็นแม่เหล็ก: ลวดสลิงสเตนเลสบางประเภทไม่เป็นแม่เหล็ก จึงเหมาะกับงานที่ต้องการหลีกเลี่ยงการมีแม่เหล็ก   ทนทานต่อสารเคมี: ลวดสลิงสเตนเลสมีความทนทานต่อสารเคมีหลายชนิด ทำให้สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีสารเคมีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกรด 316 สามารถทนต่อกรดซัลฟิวริก,

PVC Coated Wire Rope 1.2x1.5mm นิยมใช้ขึงตาข่ายกันนก ผสมสารกัน UV ทนแดด ทนฝน อายุยาวนาน ผลิตจากลวดสลิงไส้เหล็กชุบสังกะสี ขนาด 1.2mm เคลือบด้วยพลาสติกพีวีซีคุณภาพ O.D. 1.5mm บรรจุในแกนล้อพลาสติกความยาวประมาณ 1,000-1,500m นำไปใช้งานติดตั้งสะดวก นอกจากนี้ยังเหมาะกับงานขึงป้าย เดินหลอดไฟภายนอกอาคาร

เกรดผิวของอุปกรณ์สลิง (เกลียวเร่ง, กิ๊บจับ, สเก็น,..) มีการระบุเป็นตัวย่อ ได้แก่ 1. BZP (Bright Zinc Plated) 2. HDG (Hot Dip Galvanized) 3. Stainless Steel (A2 & A4) 1. แบบ BZP - เป็นการชุบผิวที่นิยมใช้กันทั่วไป ผิวจะมีสีเงินเงาแวว - มีการชุบผิวโดยใช้กระบวนการชุบสังกะสีโดยใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้มีชั้นสังกะสีบางๆ เคลือบ เพื่อป้องกันพื้นผิวโลหะจากการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนซึ่งนำมาซึ่งสนิม - มีราคาไม่สูง เหมาะกับการใช้งานภายในอาคาร ไม่ทนต่อแดด

เครื่องมือนี้จะช่วยคุณได้มากเมื่อคุณจะต้องถ่ายแบ่งลวดสลิงจากล้อหนึ่งไปยังอีกล้อหนึ่ง ที่มีขนาดไม่เท่ากันหรือความยาวที่ต้องการไม่เท่ากัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ล้อนี้ใส่ลวดสลิงพอดี หรือใหญ่เกินไปหรือไม่ ขอแนะนำหนึ่งในเว็บไซต์ที่ช่วยคำนวณความจุล้อสลิงให้ https://www.prioritywire.com/calculator_reel_capacity.php ขนาดความยาวที่จำเป็นในการคำนวณ - A Barrel Diameter: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแกนล้อด้านใน - B Flange Diameter: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปีกล้อสลิง - C Drum Length: ความกว้างของล้อสลิง ไม่รวมความหนาของปีกล้อ - D Freeboard: ระยะที่เหลือเผื่อเอาไว้ หากสลิงเต็มพอดีปีก เวลาขนย้ายสลิงอาจจะหลุดออกมาได้ E: Cable Diameter: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดสลิง Unit of Measure: สามารถเลือกได้จะใช้ระบบอังกฤษ (นิ้ว, หุน,

PVC Coated Wire Rope - White 1.20x2.0 ±0.1mm ใช้ในการยึดชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องมือเอาไว้ด้วยกัน โดยมีความต้องการของลูกค้าเพิ่มเติมในเรื่องของขนาดลวดสลิงและเส้นผ่านศูนย์กลางของสลิงรวมชั้นพีวีซีที่เคลือบ หากมีขนาดไม่อยู่ในสเปคจะมีปัญหาในการประกอบกับชิ้นงานอื่น รับตัดเป็นเส้นความยาวตามที่ระบุ

  ลวดสลิง (Wire Rope) หรือเชือกลวดเหล็กกล้า เป็นเชือกประเภทหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยมัดของเส้นลวดโลหะ ที่บิดเป็นเกลียว ในสมัยก่อนนั้นใช้วัตถุดิบเป็นเหล็กคาร์บอนต่ำ เหล็กอ่อน (wrought iron) ในการผลิต ต่อมาในปัจจุบันลวดสลิงเปลี่ยนมาผลิตจากเหล็กกล้าซึ่งเป็นเหล็กคาร์บอนสูง ลวดสลิงนั้นพัฒนามาจากโซ่เหล็กซึ่งมีปัญหาเรื่องการขาดของข้อโซ่ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงมากมาย ในขณะที่การขาดของเส้นลวดที่ใช้ทำสายลวดสลิงนั้นมีผลน้อยกว่าเนื่องจากยังมีลวดเส้นอื่นที่สามารถรับน้ำหนักได้ รวมถึงแรงเสียดทานระหว่างลวดแต่ละเส้นและมัดเส้นลวดซึ่งเป็นผลมาจากการบิดเกลียว ก็ยังช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น   ประวัติความเป็นมาของลวดสลิง ลวดสลิงสมัยใหม่นั้นคิดค้นโดยวิศวกรเหมืองแร่ชาวเยอรมัน Wilhelm Albert ในระหว่างปี ค.ศ.1831-1834 สำหรับใช้งานในเหมืองที่ภูเขา Harz ในเมือง Clausthal ในแคว้น Lower Saxony ประเทศเยอรมนี หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายเนื่องจากคุณสมบัติของลวดสลิงที่เหนือกว่าเชือกปอ หรือโซ่โลหะที่ใช้ก่อนหน้านั้น