Tel.: 02-8097426-7 | Email : info@thaicoatedwire.com

   

สลิงไส้เชือก Tag

  /  Posts tagged "สลิงไส้เชือก"

สนิมเป็นปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้งานลวดสลิงมักจะพบเจอทั้งที่ตัวลวดสลิงรวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้งานต่าง ๆ ลวดสลิงและอุปกรณที่ผ่านการชุบสังกะสี (Galvanized) แล้วนั้นจะมีชั้นสังกะสีบางๆ ที่ช่วยในการป้องกันการกัดกร่อนและสนิม แต่ชั้นสังกะสีจะบางลงเมื่อเวลาผ่านไปจนทำให้เกิดสนิมได้ที่ผิวเหล็ก หากลวดสลิงที่ชุบสังกะสีสัมผัสกับน้ำหรือน้ำเค็ม เราควรจะหมั่นตรวจสอบว่ามีสนิมหรือการกัดกร่อนเกิดขึ้นหรือไม่ ก่อนที่ความเสียหายจะมากจนทำให้ลวดสลิงขาดออกจากกัน ลวดสลิงและอุปกรณ์ทีผ่านการชุบสังกะสีแบบร้อน (Hot Dip Galvanized) จะมีชั้นสังกะสีที่หนากว่าการชุบแบบเย็นหรือชุบด้วยไฟฟ้า (Electro Galvanized) จึงจะทนทานต่อสนิมได้ดีกว่า จากภาพจะเห็นว่า กิ๊บจับลวดสลิงมีสนิมขึ้นแล้ว แต่เกลียวเร่งนั้นยังคงอยู่ในสภาพดี ส่วนลวดสลิงหุ้มด้วยพลาสติกสีฟ้าจึงสามารถทนทานต่อสนิมได้

เครื่องมือนี้จะช่วยคุณได้มากเมื่อคุณจะต้องถ่ายแบ่งลวดสลิงจากล้อหนึ่งไปยังอีกล้อหนึ่ง ที่มีขนาดไม่เท่ากันหรือความยาวที่ต้องการไม่เท่ากัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ล้อนี้ใส่ลวดสลิงพอดี หรือใหญ่เกินไปหรือไม่ ขอแนะนำหนึ่งในเว็บไซต์ที่ช่วยคำนวณความจุล้อสลิงให้ https://www.prioritywire.com/calculator_reel_capacity.php ขนาดความยาวที่จำเป็นในการคำนวณ - A Barrel Diameter: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแกนล้อด้านใน - B Flange Diameter: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปีกล้อสลิง - C Drum Length: ความกว้างของล้อสลิง ไม่รวมความหนาของปีกล้อ - D Freeboard: ระยะที่เหลือเผื่อเอาไว้ หากสลิงเต็มพอดีปีก เวลาขนย้ายสลิงอาจจะหลุดออกมาได้ E: Cable Diameter: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดสลิง Unit of Measure: สามารถเลือกได้จะใช้ระบบอังกฤษ (นิ้ว, หุน,

ในการใช้งานสลิง มีสิ่งหนึ่งที่มักจะถูกละเลยก็คือ การยืดตัวของลวดสลิง โดยที่เมื่อลวดสลิงมีการใช้งาน ลวดสลิงจะมีความยาวขึ้นจากการยืดตัว โดยการยืดตัวสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ 1. การยืดตัวตามโครงสร้างของลวดสลิง (Constructional Elongation) เมื่อลวดสลิงที่ไม่ผ่านการใช้งานได้รับน้ำหนัก เกลียว (Strand) และแกนกลาง (Core) ของลวดสลิงจะมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย ทำให้ลวดสลิงมีความยาวขึ้น พอผ่านการใช้งานสักระยะหนึ่ง การยึดตัวตามโครงสร้างจะอยู่ตัว แต่หากได้รับน้ำหนักที่มากขึ้น ลวดสลิงอาจจะมีการยืดเพิ่มขึ้นอีกไม่มาก ปัจจัยที่มีผลต่อการยืดตัวตามโครงสร้าง ได้แก่ - ประเภทของไส้ โดยลวดสลิงไส้เหล็กจะมีการยึดตัวตามโครงสร้างน้อยกว่าลวดสลิงไส้เชือก - โครงสร้างของลวดสลิง - ระยะของรอบเกลียว - วัสดุที่ใช้ผลิตเส้นลวด - น้ำหนักของภาระ 2. การยืดตัวตามสภาพยืดหยุ่น (Elastic

  ลวดสลิง (Wire Rope) หรือเชือกลวดเหล็กกล้า เป็นเชือกประเภทหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยมัดของเส้นลวดโลหะ ที่บิดเป็นเกลียว ในสมัยก่อนนั้นใช้วัตถุดิบเป็นเหล็กคาร์บอนต่ำ เหล็กอ่อน (wrought iron) ในการผลิต ต่อมาในปัจจุบันลวดสลิงเปลี่ยนมาผลิตจากเหล็กกล้าซึ่งเป็นเหล็กคาร์บอนสูง ลวดสลิงนั้นพัฒนามาจากโซ่เหล็กซึ่งมีปัญหาเรื่องการขาดของข้อโซ่ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงมากมาย ในขณะที่การขาดของเส้นลวดที่ใช้ทำสายลวดสลิงนั้นมีผลน้อยกว่าเนื่องจากยังมีลวดเส้นอื่นที่สามารถรับน้ำหนักได้ รวมถึงแรงเสียดทานระหว่างลวดแต่ละเส้นและมัดเส้นลวดซึ่งเป็นผลมาจากการบิดเกลียว ก็ยังช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น   ประวัติความเป็นมาของลวดสลิง ลวดสลิงสมัยใหม่นั้นคิดค้นโดยวิศวกรเหมืองแร่ชาวเยอรมัน Wilhelm Albert ในระหว่างปี ค.ศ.1831-1834 สำหรับใช้งานในเหมืองที่ภูเขา Harz ในเมือง Clausthal ในแคว้น Lower Saxony ประเทศเยอรมนี หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายเนื่องจากคุณสมบัติของลวดสลิงที่เหนือกว่าเชือกปอ หรือโซ่โลหะที่ใช้ก่อนหน้านั้น