Tel.: 02-8097426-7 | Email : info@thaicoatedwire.com

   

โครงสร้างของลวดสลิง Tag

  /  Posts tagged "โครงสร้างของลวดสลิง"

ในการใช้งานสลิง มีสิ่งหนึ่งที่มักจะถูกละเลยก็คือ การยืดตัวของลวดสลิง โดยที่เมื่อลวดสลิงมีการใช้งาน ลวดสลิงจะมีความยาวขึ้นจากการยืดตัว โดยการยืดตัวสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ 1. การยืดตัวตามโครงสร้างของลวดสลิง (Constructional Elongation) เมื่อลวดสลิงที่ไม่ผ่านการใช้งานได้รับน้ำหนัก เกลียว (Strand) และแกนกลาง (Core) ของลวดสลิงจะมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย ทำให้ลวดสลิงมีความยาวขึ้น พอผ่านการใช้งานสักระยะหนึ่ง การยึดตัวตามโครงสร้างจะอยู่ตัว แต่หากได้รับน้ำหนักที่มากขึ้น ลวดสลิงอาจจะมีการยืดเพิ่มขึ้นอีกไม่มาก ปัจจัยที่มีผลต่อการยืดตัวตามโครงสร้าง ได้แก่ - ประเภทของไส้ โดยลวดสลิงไส้เหล็กจะมีการยึดตัวตามโครงสร้างน้อยกว่าลวดสลิงไส้เชือก - โครงสร้างของลวดสลิง - ระยะของรอบเกลียว - วัสดุที่ใช้ผลิตเส้นลวด - น้ำหนักของภาระ 2. การยืดตัวตามสภาพยืดหยุ่น (Elastic

  ลวดสลิง (Wire Rope) หรือเชือกลวดเหล็กกล้า เป็นเชือกประเภทหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยมัดของเส้นลวดโลหะ ที่บิดเป็นเกลียว ในสมัยก่อนนั้นใช้วัตถุดิบเป็นเหล็กคาร์บอนต่ำ เหล็กอ่อน (wrought iron) ในการผลิต ต่อมาในปัจจุบันลวดสลิงเปลี่ยนมาผลิตจากเหล็กกล้าซึ่งเป็นเหล็กคาร์บอนสูง ลวดสลิงนั้นพัฒนามาจากโซ่เหล็กซึ่งมีปัญหาเรื่องการขาดของข้อโซ่ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงมากมาย ในขณะที่การขาดของเส้นลวดที่ใช้ทำสายลวดสลิงนั้นมีผลน้อยกว่าเนื่องจากยังมีลวดเส้นอื่นที่สามารถรับน้ำหนักได้ รวมถึงแรงเสียดทานระหว่างลวดแต่ละเส้นและมัดเส้นลวดซึ่งเป็นผลมาจากการบิดเกลียว ก็ยังช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น   ประวัติความเป็นมาของลวดสลิง ลวดสลิงสมัยใหม่นั้นคิดค้นโดยวิศวกรเหมืองแร่ชาวเยอรมัน Wilhelm Albert ในระหว่างปี ค.ศ.1831-1834 สำหรับใช้งานในเหมืองที่ภูเขา Harz ในเมือง Clausthal ในแคว้น Lower Saxony ประเทศเยอรมนี หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายเนื่องจากคุณสมบัติของลวดสลิงที่เหนือกว่าเชือกปอ หรือโซ่โลหะที่ใช้ก่อนหน้านั้น