Tel.: 02-8097426-7 | Email : info@thaicoatedwire.com

   

Wire Rope Tag

  /  Posts tagged "Wire Rope"

สนิมเป็นปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้งานลวดสลิงมักจะพบเจอทั้งที่ตัวลวดสลิงรวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้งานต่าง ๆ ลวดสลิงและอุปกรณที่ผ่านการชุบสังกะสี (Galvanized) แล้วนั้นจะมีชั้นสังกะสีบางๆ ที่ช่วยในการป้องกันการกัดกร่อนและสนิม แต่ชั้นสังกะสีจะบางลงเมื่อเวลาผ่านไปจนทำให้เกิดสนิมได้ที่ผิวเหล็ก หากลวดสลิงที่ชุบสังกะสีสัมผัสกับน้ำหรือน้ำเค็ม เราควรจะหมั่นตรวจสอบว่ามีสนิมหรือการกัดกร่อนเกิดขึ้นหรือไม่ ก่อนที่ความเสียหายจะมากจนทำให้ลวดสลิงขาดออกจากกัน ลวดสลิงและอุปกรณ์ทีผ่านการชุบสังกะสีแบบร้อน (Hot Dip Galvanized) จะมีชั้นสังกะสีที่หนากว่าการชุบแบบเย็นหรือชุบด้วยไฟฟ้า (Electro Galvanized) จึงจะทนทานต่อสนิมได้ดีกว่า จากภาพจะเห็นว่า กิ๊บจับลวดสลิงมีสนิมขึ้นแล้ว แต่เกลียวเร่งนั้นยังคงอยู่ในสภาพดี ส่วนลวดสลิงหุ้มด้วยพลาสติกสีฟ้าจึงสามารถทนทานต่อสนิมได้

งานขึงตาข่าย ขึงสแลน ขึงมุ้งคลุมบ่อ นิยมใช้ลวด ลวดเหล็กตีเกลียว ลวดสลิง มาใช้ในการขึง ซึ่งวัสดุแต่ละตัวจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป สลิงพีอี (Polyester Wire) เป็นวัสดุที่กำลังเป็นที่นิยม ผลิตจากพลาสติกโพลีเอสเตอร์ พร้อมเส้นใยไฟเบอร์เพื่อเสริมการรับแรง มีข้อดีคือ ทนแตด ทนฝน ไม่เป็นสนิม มีราคาไม่สูง แต่หากติดตั้งไม่เหมาะสม จะมีการยืดตัวทำให้สายหย่อน หรือฉีกขาดได้จากการเสียดสี ลวดเหล็กชุบสังกะสี (Gavnized Iron Wire) จะเป็นตัวเลือกที่ถูกที่สุด แต่จะปัญหาเรื่องอายุการใช้งานจากปัญหาเรื่องสนิม ลวดสลิงชุบสังกะสี (Galvanized

เครื่องมือนี้จะช่วยคุณได้มากเมื่อคุณจะต้องถ่ายแบ่งลวดสลิงจากล้อหนึ่งไปยังอีกล้อหนึ่ง ที่มีขนาดไม่เท่ากันหรือความยาวที่ต้องการไม่เท่ากัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ล้อนี้ใส่ลวดสลิงพอดี หรือใหญ่เกินไปหรือไม่ ขอแนะนำหนึ่งในเว็บไซต์ที่ช่วยคำนวณความจุล้อสลิงให้ https://www.prioritywire.com/calculator_reel_capacity.php ขนาดความยาวที่จำเป็นในการคำนวณ - A Barrel Diameter: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแกนล้อด้านใน - B Flange Diameter: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปีกล้อสลิง - C Drum Length: ความกว้างของล้อสลิง ไม่รวมความหนาของปีกล้อ - D Freeboard: ระยะที่เหลือเผื่อเอาไว้ หากสลิงเต็มพอดีปีก เวลาขนย้ายสลิงอาจจะหลุดออกมาได้ E: Cable Diameter: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดสลิง Unit of Measure: สามารถเลือกได้จะใช้ระบบอังกฤษ (นิ้ว, หุน,

PVC Coated Wire Rope - White 1.20x2.0 ±0.1mm ใช้ในการยึดชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องมือเอาไว้ด้วยกัน โดยมีความต้องการของลูกค้าเพิ่มเติมในเรื่องของขนาดลวดสลิงและเส้นผ่านศูนย์กลางของสลิงรวมชั้นพีวีซีที่เคลือบ หากมีขนาดไม่อยู่ในสเปคจะมีปัญหาในการประกอบกับชิ้นงานอื่น รับตัดเป็นเส้นความยาวตามที่ระบุ

ในการใช้งานสลิง มีสิ่งหนึ่งที่มักจะถูกละเลยก็คือ การยืดตัวของลวดสลิง โดยที่เมื่อลวดสลิงมีการใช้งาน ลวดสลิงจะมีความยาวขึ้นจากการยืดตัว โดยการยืดตัวสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ 1. การยืดตัวตามโครงสร้างของลวดสลิง (Constructional Elongation) เมื่อลวดสลิงที่ไม่ผ่านการใช้งานได้รับน้ำหนัก เกลียว (Strand) และแกนกลาง (Core) ของลวดสลิงจะมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย ทำให้ลวดสลิงมีความยาวขึ้น พอผ่านการใช้งานสักระยะหนึ่ง การยึดตัวตามโครงสร้างจะอยู่ตัว แต่หากได้รับน้ำหนักที่มากขึ้น ลวดสลิงอาจจะมีการยืดเพิ่มขึ้นอีกไม่มาก ปัจจัยที่มีผลต่อการยืดตัวตามโครงสร้าง ได้แก่ - ประเภทของไส้ โดยลวดสลิงไส้เหล็กจะมีการยึดตัวตามโครงสร้างน้อยกว่าลวดสลิงไส้เชือก - โครงสร้างของลวดสลิง - ระยะของรอบเกลียว - วัสดุที่ใช้ผลิตเส้นลวด - น้ำหนักของภาระ 2. การยืดตัวตามสภาพยืดหยุ่น (Elastic

  ลวดสลิง (Wire Rope) หรือเชือกลวดเหล็กกล้า เป็นเชือกประเภทหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยมัดของเส้นลวดโลหะ ที่บิดเป็นเกลียว ในสมัยก่อนนั้นใช้วัตถุดิบเป็นเหล็กคาร์บอนต่ำ เหล็กอ่อน (wrought iron) ในการผลิต ต่อมาในปัจจุบันลวดสลิงเปลี่ยนมาผลิตจากเหล็กกล้าซึ่งเป็นเหล็กคาร์บอนสูง ลวดสลิงนั้นพัฒนามาจากโซ่เหล็กซึ่งมีปัญหาเรื่องการขาดของข้อโซ่ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงมากมาย ในขณะที่การขาดของเส้นลวดที่ใช้ทำสายลวดสลิงนั้นมีผลน้อยกว่าเนื่องจากยังมีลวดเส้นอื่นที่สามารถรับน้ำหนักได้ รวมถึงแรงเสียดทานระหว่างลวดแต่ละเส้นและมัดเส้นลวดซึ่งเป็นผลมาจากการบิดเกลียว ก็ยังช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น   ประวัติความเป็นมาของลวดสลิง ลวดสลิงสมัยใหม่นั้นคิดค้นโดยวิศวกรเหมืองแร่ชาวเยอรมัน Wilhelm Albert ในระหว่างปี ค.ศ.1831-1834 สำหรับใช้งานในเหมืองที่ภูเขา Harz ในเมือง Clausthal ในแคว้น Lower Saxony ประเทศเยอรมนี หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายเนื่องจากคุณสมบัติของลวดสลิงที่เหนือกว่าเชือกปอ หรือโซ่โลหะที่ใช้ก่อนหน้านั้น