Tel.: 02-8097426-7 | Email : info@thaicoatedwire.com

   

Author: admin

  /  Articles posted by admin (Page 3)

ลวดมัดปากถุงแบบพิเศษที่รวมข้อดีของกระดาษซึ่งสามารถเขียนหรือทำมาร์คกิ้ง ไม่ลื่นเกินไปเมื่อสัมผัสชิ้นสินค้าที่นำไปรัด และฟิล์มเมทัลไลซ์ซึ่งเงางามสะท้อนแสง ด้านหนึ่งจะเป็นฟิล์มเมทัลไลซ์สีและลายต่างๆ และอีกด้านหนึ่งจะเป็นกระดาษสีขาว เป็นงานผลิตตามสั่ง (Made To Order)

ในการใช้งานสลิง มีสิ่งหนึ่งที่มักจะถูกละเลยก็คือ การยืดตัวของลวดสลิง โดยที่เมื่อลวดสลิงมีการใช้งาน ลวดสลิงจะมีความยาวขึ้นจากการยืดตัว โดยการยืดตัวสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ 1. การยืดตัวตามโครงสร้างของลวดสลิง (Constructional Elongation) เมื่อลวดสลิงที่ไม่ผ่านการใช้งานได้รับน้ำหนัก เกลียว (Strand) และแกนกลาง (Core) ของลวดสลิงจะมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย ทำให้ลวดสลิงมีความยาวขึ้น พอผ่านการใช้งานสักระยะหนึ่ง การยึดตัวตามโครงสร้างจะอยู่ตัว แต่หากได้รับน้ำหนักที่มากขึ้น ลวดสลิงอาจจะมีการยืดเพิ่มขึ้นอีกไม่มาก ปัจจัยที่มีผลต่อการยืดตัวตามโครงสร้าง ได้แก่ - ประเภทของไส้ โดยลวดสลิงไส้เหล็กจะมีการยึดตัวตามโครงสร้างน้อยกว่าลวดสลิงไส้เชือก - โครงสร้างของลวดสลิง - ระยะของรอบเกลียว - วัสดุที่ใช้ผลิตเส้นลวด - น้ำหนักของภาระ 2. การยืดตัวตามสภาพยืดหยุ่น (Elastic

เวลาปิดตู้สินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์ เราจะต้องปิดประตูทางด้านซ้ายก่อนแล้วจึงปิดประตูทางด้านขวา ดังนั้น จุดที่ควรจะ ตีซีลจึงควรจะเป็นประตูทางด้านขวา เนื่องจากประตูขวาจะถูกเปิดก่อน ซึ่งเราอาจจะตีซีลเฉพาะด้านขวาหรือทั้งสองด้านก็ได้ เลขลำดับของซีลบ่งชี้ซีลแต่ละตัว โดยมีหมายเลขไม่ซ้ำกัน ซึ่งควรระบุเลขซีลลงไปในใบขนเพื่อป้องกันการเปลี่ยนซีล ซีลแบบแท่งโลหะ หรือโบลต์ซีล (Bolt Seal) มีความแข็งแรง โดยทำหน้าที่เสมือนแม่กุญแจที่ใช้เพียงครั้งเดียว โบลต์ซีลที่ได้มาตรฐาน จะต้องผลิตตาม ISO 17712:2013 จึงจะถือว่าเป็นซีลที่มีความปลอดภัยขั้นสูง (High Security Seals) นอกจากนี้ยังมีมาตรฐาน C-TPAT สำหรับตู้สินค้าที่ส่งเข้าไปยังอเมริกา

สนิมเป็นรูปแบบของการกัดกร่อนอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้เนื้อโลหะหลุดร่อนไป สำหรับสนิมโดยความเข้าใจของคนทั่วไป อลูมิเนียมนั้นไม่ขึ้นสนิม เมื่ออลูมิเนียมสัมผัสกับอ็อกซิเจนจะเกิดชั้นฟิล์มออกไซด์บาง ๆ เช่นเดียวกันกับโลหะอื่นๆ แต่ออกไซด์ของอลูมิเนียม (Aluminium Oxide) นั้นกลับเป็นผลดี เนื่องจากมีความแข็ง บาง ใส ช่วยปกป้องอลูมิเนียมจากการกัดกร่อน แต่อลูมิเนียมก็มิใช่เป็นโลหะที่คงทนถาวร ไม่ผุพัง อลูมิเนียมเกิดการกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic Corrosion) เมื่อผิวอลูมิเนียมสัมผัสกับโลหะชนิดอื่น เช่น หากใช้น็อต (Bolt) ที่ทำจากทองเหลืองขันยึดกับชิ้นงานอลูมิเนียม บริเวณผิวอลูมิเนียมโดยรอบน็อตจะเกิดการกัดกร่อนขึ้น เนื่องจากอลูมิเนียมมีความเสถียรน้อยกว่าทองเหลือง #อลูมิเนียมไม่ขึ้นสนิม #อลูมิเนียมออกไซด์ #ลวดอลูมิเนียม  

  สแตนเลส 304 (Stainless 304) เป็นสแตนเลสชนิดหนึ่งในกลุ่มออสเตนนิติค (Austenitic) มีจุดเด่นที่ ทนทาน มีความเหนียวสูง ต้านการการกัดกร่อนสูง ทนความร้อนได้สูง ขึ้นรูปได้ดี ไม่เป็นสนิม ไม่ดูดซึมสาร กลิ่นและรสชาติ สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน สแตนเลส 304 มีส่วนผสมโลหะระหว่างเหล็ก และคาร์บอน โครเมียม และนิกเกิล เป็นส่วนผสมหลัก โดยมีปริมาณคาร์บอนต่ำ สัดส่วนเหล็กกล้าประมาณ 70 – 75% โครเมียมประมาณ 18% นิกเกิล

เคเบิ้ลไทร์ไนลอน PA66 สีน้ำเงิน ใช้สำหรับรัดปากถุงบรรจุวัตถุดิบอาหาร . . สีของเคเบิ้ลไทร์เป็นสีน้ำเงิน เห็นเด่นชัด ป้องการการปนเปื้อนไปในอาหาร . หากชิ้นส่วนหรือเศษของเคเบิ้ลไทร์เมื่อตัดออกหล่นไปกับอาหาร จะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจน . สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการควบคุมคุณภาพ Food Safety ซึ่งนับวันมีความสำคัญกับผลิตภัณฑ์อาหาร . . #เคเบิ้ลไทร์ในอุตสาหกรรมอาหาร #เคเบิ้ลไทร์สี #สามารถสั่งเป็นสีสะท้อนแสงเพื่อให้เห็นเด่นชัดได้ #CableTie

เคเบิ้ลไทร์ (Cable Tie) หรือที่รู้จักกันในชื่อ hose tie, zip tie หรือ tie-wrap เป็นสลักภัณฑ์ (Fastener) ประเภทหนึ่งซึ่งออกแบบเพื่อรัดสายสัญญาณหรือสายไฟเข้าด้วยกันเพื่อความเป็นระเบียบ และยังถูกนำไปใช้ในงานหลากหลายประเภท เคเบิ้ลไทร์แบบต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้ว เคเบิ้ลไทร์แบบไนลอนจะมีส่วนหนึ่งที่มีฟันสามเหลี่ยมลาดไปในทิศทางเดียวกัน โดยส่วนหัวของเคเบิ้ลไทร์จะมีช่องพร้อมกับเขี้ยวที่บังคับให้ฟันสามเหลี่ยมนั้นไม่สามารถถอยกลับได้เมื่อส่วนปลายของเคเบิ้ลไทร์สอดเข้ามา เขี้ยวของเคเบิ้ลไทร์ทำหน้าที่เหมือนกระเดื่องในเฟืองที่บังคับไม่ให้ถอดสายเคเบิ้ลไทร์ออกมา ส่วนเขี้ยวของเคเบิ้ลไทร์ที่ล็อคกับร่องสาย เคเบิ้ลไทร์ไนลอนมาตรฐาน จะผลิตจากพลาสติกไนลอน หรือ polyamide 6,6 ซึ่งจะมีความแข็งแรง เหนียว แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการลดต้นทุน ใช้ไนลอน 6 หรือพีอีผสมเข้ามา ทำให้ความแข็งแรงลดลว เราสามารถแยกแยะได้โดยการถดูที่ฉลากระบุวัสดุที่ผลิตเคเบิ้ลไทร์

ลวดมัดปากถุงแบบเงาคละสีต่างๆ ในถุง   ลวดมัดปากถุงหรือลวดหุ้มพลาสติก หลายคนคงสงสัยว่า สามารถนำไปใช้ทำอะไร เห็นแล้วก็เรียกไม่ถูก ลวดมัดปากถุงมีชื่อเรียกกันหลากหลาย ทั้งเรียกตามการใช้งานและเรียกตามลักษณะลวดที่เป็นลวดด้าน ลวดเงา ลวดฟอยล์ ริบบิ้นลวด ลวดฟอยล์ ลวดสี ลวดริบบิ้น ลวดเคลือบ ฯลฯ มีการนำลวดมัดปากถุงไปใช้งานในหลากหลายงาน ทั้งในระดับอุตสาหกรรม ร้านค้า และใช้ตามบ้านเรือน - รัดปากถุงขนม เบเกอรี่ ขนมปัง ขนมของฝาก โดยทั้งเพื่อปิดปากถุงและเพิ่มความสวยงามของสินค้า โดยอาจมีการเพิ่มโบว์ผ้าลงไป เช่น ถุงขนมเบเกอรี่ที่เห็นในร้าน 7-11 และแผนกเบเกอรี่ของ Lotus

  ลวดมัดปากถุงผลิตจากเส้นลวดที่หุ้มด้วยพลาสติกหรือกระดาษเพื่อใช้สำหรับมัดถุงที่เปิดปิดหลายครั้ง เช่น ถุงขนมปัง, ถุงคุกกี้, ถุงขนมต่าง ๆ รวมถึงถุงปุ๋ย ลวดมัดของยังใช้สำหรับมัดสิ่งของต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แล้วบิดด้วยปลาย (ตามที่เรียกกันว่า "ลวดบิด" ซึ่งแปลตามตัวจากภาษาอังกฤษว่า "twist tie") หากมองจากอรรถประโยชน์การใช้งานที่หลากหลายแล้ว ก็สามารถเรียกลวดมัดของได้อีกชื่อว่า "ลวดมัดอเนกประสงค์" ลวดมัดของมักใช้ร่วมกับถุงอาหารพลาสติก และยังมีใช้ในรูปแบบที่ตัดสำเร็จในขนาดต่าง ๆ แบบม้วน หรือแบบแผง ลวดมัดของมีหลายประเภทแบ่งตามวัสดุที่ใช้หุ้ม ทั้งแบบพื้นเรียบ แบบที่พิมพ์ลวดลายหรือตัวหนังสือลงไป หรือเป็นกระดาษสีพื้น กระดาษสีเมทัลลิค พลาสติก และฟิล์มซึ่งได้รับความนิยมใช้งานต่างๆ ลวดหุ้มพลาสติกหรือหุ้มฟิล์มนั้นมีข้อดีตรงที่สามารถทนน้ำได้ดีกว่าลวดหุ้มกระดาษที่ไม่ได้เคลือบ

  ลวดสลิง (Wire Rope) หรือเชือกลวดเหล็กกล้า เป็นเชือกประเภทหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยมัดของเส้นลวดโลหะ ที่บิดเป็นเกลียว ในสมัยก่อนนั้นใช้วัตถุดิบเป็นเหล็กคาร์บอนต่ำ เหล็กอ่อน (wrought iron) ในการผลิต ต่อมาในปัจจุบันลวดสลิงเปลี่ยนมาผลิตจากเหล็กกล้าซึ่งเป็นเหล็กคาร์บอนสูง ลวดสลิงนั้นพัฒนามาจากโซ่เหล็กซึ่งมีปัญหาเรื่องการขาดของข้อโซ่ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงมากมาย ในขณะที่การขาดของเส้นลวดที่ใช้ทำสายลวดสลิงนั้นมีผลน้อยกว่าเนื่องจากยังมีลวดเส้นอื่นที่สามารถรับน้ำหนักได้ รวมถึงแรงเสียดทานระหว่างลวดแต่ละเส้นและมัดเส้นลวดซึ่งเป็นผลมาจากการบิดเกลียว ก็ยังช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น   ประวัติความเป็นมาของลวดสลิง ลวดสลิงสมัยใหม่นั้นคิดค้นโดยวิศวกรเหมืองแร่ชาวเยอรมัน Wilhelm Albert ในระหว่างปี ค.ศ.1831-1834 สำหรับใช้งานในเหมืองที่ภูเขา Harz ในเมือง Clausthal ในแคว้น Lower Saxony ประเทศเยอรมนี หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายเนื่องจากคุณสมบัติของลวดสลิงที่เหนือกว่าเชือกปอ หรือโซ่โลหะที่ใช้ก่อนหน้านั้น